วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556

เรียนรู้การลงทุนและมีชีวิตที่สุขสบายไปพร้อมๆกันนะครับ ตอนที่ 2

     เมื่อเส้นทางของชีวิตจริงไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ หุ้นไทยในปีนี้ปรับตัวขึ้นมาอย่างมากมายตั้งแต่ต้นปี มาสองสามสัปดาห์นี้ก็ได้ปรับลดลงเกือบ 10% แน่นอนครับว่า ต้องมีคนเจ็บตัว แต่ก็ต้องมีคนได้เงินได้ทองกันไปเหมือนกัน เป็นเรื่องธรรมดาของโลก และทุกธุรกิจนะครับ ที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง รวมถึงมีเหตุปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้อยู่เสมอ ขอเพียงแต่เราไม่สำคัญตัวเองผิด คิดว่าเราใหญ่คับโลก ใช้หลักการบริหารจัดการเงินลงทุนที่ดี ( Money management ) ใช้จุด Take profit, Run profit และ Stop lose ที่เหมาะสมก็จะสามารถอยู่รอดและทำกำไรได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นอัจฉริยะ หรือมีความสามารถเช่นพระเจ้าที่ควบคุมทุกอย่างได้ เราแค่เรียนรู้และใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง แล้วอยู่ร่วมกับมันให้ได้ก็เพียงพอแล้วครับ

     
     เข้าเรื่องของเรากันต่อดีกว่านะครับ กราฟ EUR/USD ช่วงเวลา 4 ชั่วโมง ที่อยู่ในภาพตัวอย่างของสัปดาห์ก่อน หากใครเข้าเทรดก็จะทราบกันดีว่า เส้นแนวโน้มจะทำหน้าที่เป็นเหมือนกรอบความคิด ตามทฤษฏีคือ กราฟค่าเงินจะเดินทางเด้งไปมาตามเส้นแนวโน้มที่ขีดเอาไว้ แต่เมื่อไหร่ที่มีแรงซื้อหรือแรงขายใหม่ ก็จะทำให้เกิดเส้นแนวโน้มใหม่ และจะเดินทางตามเส้นแนวโน้มใหม่อีกระยะหนึ่งก่อนมีแรงซื้อหรือแรงขายมากระทำ ดังนั้น กราฟโดยทั่วไปจึงแบ่งได้ 3 รูปแบบหลักๆ คือ
          1. ช่วงที่เกิดแนวโน้มและเดินทางไปตามแนวโน้มนั้นๆ เรียกว่า Trend
          2. ช่วงปรับฐานและสะสมกำลัง กราฟจะเด้งไปมาเป็นฟันปลา ตามแนวราบ เรียกว่า Sideway
          3. ช่วงที่มีแรงซื้อหรือแรงขายมากอย่างรุนแรงจนทำให้เกิดกราฟแท่งยาว เรียกว่า Breakout ช่วงนี้ก็คือช่วงรอยต่อระหว่างสองช่วงแรก และจะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ
     จากภาพตัวอย่างจะเห็นได้ว่า กราฟนี้สิ้นสุดที่ใกล้เส้นขอบบนของเส้นเทรนไลน์ ดังนั้น ในหัวของนักลงทุนจะเห็นสองแสวทางว่า จะเป็นช่วง trend ใหม่ทิศทางขึ้นต่อไป (กราฟไปเด้งเส้นบนและลงมาเส้นล่างแล้วเดินทางตามแนวเส้นเทรนไลน์) หรือ เป็นช่วง trend เก่าแนวโน้มทิศทางลง หรือเป็น Sideway แล้วค่อยเลือกทิศทางลง
 
     สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่นักลงทุนควรรู้ก็คือ ไม่มีใครสามารถทำนายการเดินทางของเส้นกราฟในอนาคตได้ ดังนั้น "จงอย่างเสียเวลาไปกับการคิดไปล่วงหน้าว่ามันจะไปทางไหน" แต่จงใช้ระบบ และ การบริหารเงินลงทุนมาช่วยให้ผลตอบแทนการลงทุนสามารถทำกำไรได้อย่างต่อเนื่อง

     การเดินทางบนเส้นทางนักลงทุนของเรา เริ่มจะสนุกขึ้นมาบ้างแล้วใช่มั๊ยครับ คราวหน้าเราจะมาลองดูตัวอย่างซัก 2-3 ตัวอย่างแล้วจะพูดถึงหลักการการลงทุนแบบจริงๆ จังๆ แบบวิชาการ ทฤษฏีหนักๆ กันบ้าง แล้วเจอกันนะครับ ^^


    
    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น